วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

บ้านโหลกเข๊าถะแหลง พาสาเมืองสาย (แบบชาวเจ๊ะเห)

บทความที่ทำมาเมื่อนานมาแล้ว ลงไปใน http://maxzone.multiply.com/journal/item/11/11

บ้านโหลกเข๊าถะแหลง พาสาเมืองสาย (แบบชาวเจ๊ะเห)

ตอนนี้ ก็ จะมาพูดเรื่อง ภาษากันบ่างนะครับ “เจ๊ะเห” หลาย คน อาจสงสัย ว่า คืออะไร  “เจ๊ะเห” คือ อำเภอๆ หนึ่งครับ ก็คือตากใบนั้นเอง และรวมทั้งเป็นภาษาพูดของ กลุ่มคน ใน 2 จังหวัดภาคใต้อีกด้วยครับ  คือ ปัตตานี (อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี  อำเภอไม้แก่น) จังหวัดนราธิวาส ร่วมทั้งชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย ในรัฐกลันตัน ในประเทศมาเลเซีย  กล่าวกันได้ว่า คนที่พูดภาษา “เจ๊ะเห” นั้นพื้นเพเดิมมิใช่ คนใต้ มาแต่โบราณ  เป็นแต่เพียงชาวไทยเหนือ(สุโขทัย)อพยพลงมาตั้งถิ่นฐาน มาแต่โบราณกาล เอกลักษณ์สำคัญอีกอย่างก็คือ  ภาษาไทยเจ๊ะเห จะมีมีการ กร่อนคำ และตัดคำอย่างภาษาใต้ทั่วไป   เช่นคำว่า ถะแหลง แปลว่าพูด คำว่า ตะหลาด แปลว่า ตลาด
(การเคลื่อนตัวของกลุ่มภาษา)

ประวัติและที่มาของกลุ่มภาษา

มาร์วิน บราวน์ (Marvin Brown) ศึกษาภาษาถิ่นของไทยและให้ความเห็นว่าภาษาตากใบมีวิวัฒนาการมาจากภาษาสุโขทัยโดยตรง ในตากใบเองก็มีตำนานที่เกี่ยวข้องกับเมืองเหนือ เช่น กรุงสุโขทัย จนทำให้ภาษามีเอกลักษณ์เฉพาะ ตำนานแรกเล่าว่าตากใบเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย จึงมีขุนนางสุโขทัยเดินทางมาปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ จึงสันนิษฐานว่ามีกำแพง และวัง หรือวัดปรักหักพังที่บ้านโคกอิฐ และเมื่อขุนนางสุโขทัยเดินทางมาที่ตากใบแล้วย่อมมีบริวารตามมาหลายคน ด้วยเหตุนี้เอง วัฒนธรรมภาษาพูดเมืองเหนือจึงผสมผสานกับภาษาชาวตากใบ และวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรมในวัด ไม่ว่าจะเป็นวิหาร ศาลาการเปรียญ มีรูปแบบและศิลปะค่อนไปทางเหนือ ส่วนตำนานที่สองกล่าวถึงชาวสุโขทัยติดตามช้างเชือกสำคัญมาทางเมืองใต้ ในที่สุดมาตั้งหลักแหล่งที่ตากใบ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีชื่อหมู่บ้าน และตำบลเกี่ยวข้องกับช้าง เช่น บ้านไพรวัลย์ มาจากคำว่า บ้านพลายวัลย์ สถานที่ช้างลงอาบน้ำ เดิมเรียก บ้านปรักช้าง ต่อมาเปลี่ยนเป็น ฉัททันต์สนาน ซึ่งเป็นชื่อวัดในหมู่บ้านนี้ เล่ากันว่ามีช้างสำคัญมาล้มที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ภายหลังเรียกว่า บ้านช้างตาย ปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภอบาเจาะจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันเรียกเป็นภาษามลายูว่า บ้านกาเยาะมาตี อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งทัพไทยสมัยโบราณยกไปตีหัวเมืองมลายู มีคนไทยลงมาตั้งหมู่บ้านคอยต้อนรับกันเป็นทอดๆ จะเห็นว่าปัจจุบันมีบางหมู่บ้านที่มีชาวบ้านพูดจาคล้ายๆเสียงของชาวตากใบ เช่นที่อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี ในจังหวัดปัตตานี และชาวบ้านในอำเภอสุไหงปาดี และอำเภอแว้ง
ในจังหวัดนราธิวาส   (http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาเจ๊ะเห)
ตัวอย่างของภาษาเจ๊ะเห
§  ดอย แปลว่า ตาย เช่น ดอยแล้ว (ตายแล้ว) นอนดอย (นอนตาย)
§  อังกะปั๋ง แปลว่า งง
§  ยะรัง แปลว่า ป่วย ป่วยไข้
§  ฝากบ่าว แปลว่า การหมั้น
§  บะหล่าญา แปลว่า สินสอด
§  อีหละ แปลว่า เกี้ยวพาราสี
§  กล้วยหลา แปลว่า มะละกอ (ที่อำเภอสายบุรีเรียก กล่วยหล่า)
§  ดอกไม้จันทน์ แปลว่า ดอกลีลาวดี หรือดอกลั่นทม
§  ข้าวกระหยา แปลว่า ข้าวยำ
§  แม่กระดอก แปลว่า โสเภณี
§  แกแหร แปลว่า มะม่วงหิมพานต์ (ที่อำเภอสายบุรี เรียกแต๋แหร๋)
§  จี้ไปเรไหน คือ จะไปเที่ยวที่ไหน (จี้ = จะ , เร = เที่ยว)
§  ก่ะหรัด แปลว่า มาก เช่น ของพวกนี้แพงกะหรัด (ของเหล่านี้แพงมาก)
§  โขเข แปลว่า เยอะ มาก
§  บลานา แปลว่า มากมาย ไม่หมด
§  อ๊วน แปลว่า ซน (ปะนาเระ)
§  จีใด๋ หรือ ยี่ใด๋ แปลว่า ทำไม เช่น จีใด๋ (ยี่ใด๋) เท่ม่ายห้อนจำ (ทำไมที่ไม่เคยจำ)
§  ผ๋ะไหน๋ แปลว่า ยังไง เช่น ผะไหน๋เท่ม่ายโร้จักเท่จี่แล (ทำไมไม่รู้จักที่จะดู)
§  วิมัง แปลว่า เป็นห่วง เช่น สาวิมังพี่น้องเท่โย้ปาหละ (รู้สึกเป็นห่วงญาติที่อยู่ปาลัส)
§  ค๊ะแนแน แปลว่า วงศาคณาญาติ
§  โย้ แปลว่า อยู่
§  ข๊ะไหน  แปลว่า ที่ไหน
§  ม่ายไหร๋ แปลว่า ไม่เป็นไร
§  ม่ายโร้ แปลว่า ไม่รู้
§  ห่าม่าย แปลว่า ไม่มี
§  ล่ะหมี๋ หรือล่ะมิ แปลว่า หรือยัง เช่น กินข้าวละหมี๋? (กินข้าวหรือยัง)
§  ระแห้ก แปลว่า ขาด
§  เริน แปลว่า บ้าน
§  เพละ แปลว่า บูดู (ภาษาเก่าคนไม่นิยมใช้แล้ว)
§  ป๊าร้า แปลว่า บูดู ( อำเภอะ ปะนาเระ)
§  ต่ะหลาด แปลว่า ตลาด
§  ท่าคลอง แปลว่า ฝั่งคลอง
§  ห๊าดเล แปลว่า ทะเล
§  ยาม , นากา แปลว่า นาฬิกา
§  กรด , หร๊อม แปลว่าร่ม 
§  ป๊าเปร้ว แปลว่า ป่าช้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น